ซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ (system softwaare) หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์กล่าวคือเป็นโปรแกรมควบคุมและประสานการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งดำเนินงานพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น สั่งให้รับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ สั่งให้ซีพียูคำนวณผล สั่งให้แสดงผลทางลำโพง เป็นต้น ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมอรรถประโยชน์ โดยกล่าวถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.1 ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือเรียกว่า โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำรอง และหน่วยส่งออก นอกจากนี้ยังเป็นตัวกลางเชื่อมโยงและสนับสนุนคำสั่งในการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ด้วย บางครั้งระบบปฏิบัติการนิยม เรียกว่า แพลตฟอร์ม (platform)
1) รูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน ระบบปฏิบัติรูปแบบการมีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน 2 แบบ ดังนี้
1.1) แบบบรรทัดคำสั่ง (command - line interface) รูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ยุคแรกๆโดยผุ้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่เพื่อให้ปฏิบัติการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อควบคุมคอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้งาน การติดต่อกับผู้ใช้แบบบรรทัดคำสั่งจึงได้รับความนิยมลดลง แต่รูปแบบการติดต่อแบบบรรทัดคำสั่งยังมีความจำยังมีความจำเป็นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคำสั่งสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้ เช่น การบันทึกไฟล์ข้อมูล การซ่อมแซมไฟล์ที่เสียหาย เป็นต้น
1.2) แบบกราฟิก (graphic user interface : GUI) เป็นรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งานโดยการใช้รูปภาพเล็กๆ เป็นสัญลักษณ์แทนไฟล์อื่นๆใช้เมาส์คลิกเลือกที่รูปภาพนั้น เพื่อเปิดไฟล์หรือโปรแกรมต่างๆ ทำใฟ้ใช้งานได้สะดวกและมีสีสันที่สวยงาม ซึ่งเป็นรูปแบบการติดต่อที่ได้รับความนิยมสูง
2) ประเภทของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
2.1) ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (stand - alone operating system) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้เครื่องกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน๊ตบุ้คคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับผู้ใช้งานรองรับผู้ใช้งานเพียงคนนเดียว กล่าวคือเป็นระบบปฏิบัติการดอสรุ่นแรกเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างบริษัทไอบีเอ็มและบริษัทไมโครซอฟท์เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็มและใช้ชื่อระบบปฏิบัติการว่า PC-DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟท์ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการดอสขแงตนเองขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า MS-DOS สำหรับใช้กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการทำงานของคอมพิวเตตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็ม
2.2) ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (network operating system) เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น สามารถรองรับผู้ใช้งานได้หลายคน รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูล ใช้หลักการประมวลผลแบบไคลแอนด์เซิร์ฟเวอร์ (client server system) กล่าวคือ เครื่องแม่ข่าย (server) สามารถให้บริการแก่เครื่องแม่ข่าย (client) ได้หลายเครื่องในเวลเดียวกันหากเครื่องลูกข่ายเรียกใช้ข้อมูลจากเครื่องแม่ข่าย ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการเครือข่ายสำหรับการเรียกใช้ข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องแม่ข่าย ได้แก่ การประมวลผลและการติดต่อกับผู้ใช้ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบเครือข่าย
2.3) ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded Opereting System) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ได้แก่ พีดีเอ ปาล์ม โทรศัพท์มือถือ ซึ่งระบบปฏิบัติการจะถูกเก็บไว้ในรอม (ROM) ของเครื่อง ใช้หน่วยความจำน้อย สามารถป้อนข้อมูลโดยใช้สไตลัส(stylelus) เป็นแท่งพลาสติกใช้เขียนตัวอักษรลงบนจอภาพได้ ดังนั้น ระบบปฏิบัติการแบบฝังจึงต้องมีสมบัติวิเคราะห์ลายมือเขียน (hand writing recognition) และทำการแปลงตัวอักษรเข้าสู่ระบบได้อย่างถูกต้อง
1) รูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน ระบบปฏิบัติรูปแบบการมีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน 2 แบบ ดังนี้
1.1) แบบบรรทัดคำสั่ง (command - line interface) รูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ยุคแรกๆโดยผุ้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่เพื่อให้ปฏิบัติการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อควบคุมคอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้งาน การติดต่อกับผู้ใช้แบบบรรทัดคำสั่งจึงได้รับความนิยมลดลง แต่รูปแบบการติดต่อแบบบรรทัดคำสั่งยังมีความจำยังมีความจำเป็นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคำสั่งสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้ เช่น การบันทึกไฟล์ข้อมูล การซ่อมแซมไฟล์ที่เสียหาย เป็นต้น
1.2) แบบกราฟิก (graphic user interface : GUI) เป็นรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งานโดยการใช้รูปภาพเล็กๆ เป็นสัญลักษณ์แทนไฟล์อื่นๆใช้เมาส์คลิกเลือกที่รูปภาพนั้น เพื่อเปิดไฟล์หรือโปรแกรมต่างๆ ทำใฟ้ใช้งานได้สะดวกและมีสีสันที่สวยงาม ซึ่งเป็นรูปแบบการติดต่อที่ได้รับความนิยมสูง
2) ประเภทของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
2.1) ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (stand - alone operating system) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้เครื่องกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน๊ตบุ้คคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับผู้ใช้งานรองรับผู้ใช้งานเพียงคนนเดียว กล่าวคือเป็นระบบปฏิบัติการดอสรุ่นแรกเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างบริษัทไอบีเอ็มและบริษัทไมโครซอฟท์เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็มและใช้ชื่อระบบปฏิบัติการว่า PC-DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟท์ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการดอสขแงตนเองขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า MS-DOS สำหรับใช้กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการทำงานของคอมพิวเตตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็ม
2.2) ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (network operating system) เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น สามารถรองรับผู้ใช้งานได้หลายคน รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูล ใช้หลักการประมวลผลแบบไคลแอนด์เซิร์ฟเวอร์ (client server system) กล่าวคือ เครื่องแม่ข่าย (server) สามารถให้บริการแก่เครื่องแม่ข่าย (client) ได้หลายเครื่องในเวลเดียวกันหากเครื่องลูกข่ายเรียกใช้ข้อมูลจากเครื่องแม่ข่าย ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการเครือข่ายสำหรับการเรียกใช้ข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องแม่ข่าย ได้แก่ การประมวลผลและการติดต่อกับผู้ใช้ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบเครือข่าย
2.3) ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded Opereting System) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ได้แก่ พีดีเอ ปาล์ม โทรศัพท์มือถือ ซึ่งระบบปฏิบัติการจะถูกเก็บไว้ในรอม (ROM) ของเครื่อง ใช้หน่วยความจำน้อย สามารถป้อนข้อมูลโดยใช้สไตลัส(stylelus) เป็นแท่งพลาสติกใช้เขียนตัวอักษรลงบนจอภาพได้ ดังนั้น ระบบปฏิบัติการแบบฝังจึงต้องมีสมบัติวิเคราะห์ลายมือเขียน (hand writing recognition) และทำการแปลงตัวอักษรเข้าสู่ระบบได้อย่างถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น