Screen Saver คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่รักษาจอภาพ เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้เป็นเวลานาน โดยปล่อยให้จอภาพ แสดงภาพเดิมโดยไม่มีการเคลื่อนไหวจะทำให้จอภาพเสื่อม เนื่องจากถูกยิงด้วยลำแสงอิเล็กตรอนเป็นเวลานานเกินไป ภาพนั้นจะไหม้ (burn) ลงไปในฟอสเฟอร์ของจอภาพ เป็นผลทำให้เกิดภาพที่ เรียกว่า ภาพหลอน (ghost image) ขึ้น และรอยนี้จะติดอยู่ตลอดไป ลบออกไม่ได้ หรืออาจทำให้จอมืด เมื่อเป็นเช่นนี้มนุษย์จึงคิดประดิษฐ์โปรแกรมถนอมภาพขึ้น เมื่อไม่ได้สัมผัสคอมพิวเตอร์ โดยปล่อยให้จอภาพค้างภาพเดิมอยู่นาน x นาที (x=ระยะเวลาที่เราสามารถกำหนด) ตัวโปรแกรม Screen Saver จะทำงานทันที โดยบางโปรแกรมอาจมีภาพเคลื่อนไหว หรือตัวหนังสือวิ่งไปวิ่งมา หรือบางโปรแกรมอาจมีเสียงเพลง เมื่อขยับเมาส์ หรือสัมผัสที่แป้นใดแป้นหนึ่ง ข้อความหรือภาพบนจอที่เคลื่อนไหว และกลับเป็นหน้าจอเหมือนเดิม โปรแกรม Screen Saver เหล่านี้จะช่วยให้จอมีการแสดงภาพเปลี่ยนไปมาเรื่อยๆ เพื่อรักษาหน้าจอเท่านั้น ไม่ได้เป็นการพักเครื่องหรือพักการทำงานของทีพียู
การเรียกใช้งาน Screen Saver
1. คลิกขวาที่เดสก์ทอป เลือก Personalize
2. จะปรากฏหน้าต่าง Personalization เลือก Sceen Saver
3. จะปรากฏหน้าต่าง Screen Saver เลือก Screen Saver ที่ต้องการใช้
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
screen saver
การใช้ scan disk
การใช้งาน Scan Disk สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาดของ ฮาร์ดดิสก์
Scandisk เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับ ทำการตรวจสอบการทำงาน และความบกพร่องของฮาร์ดดิสก์ และระบบไฟล์ของ Windows ในเบื้องต้น เมื่อใช้งาน Windows ไปนาน ๆ และรู้สึกว่าการทำงานต่าง ๆ ของ Windows เริ่มจะมีปัญหา อาจจะใช้โปรแกรม Scandisk เพื่อทำการตรวจสอบ ฮาร์ดดิสก์และระบบไฟล์ต่าง ๆ ของ Windows ได้ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาของระบบไฟล์ ถ้าหากการเสียหายนั้นไม่มากจนเกินไป
การเรียกใช้โปรแกรม Scandisk
เรียกใช้โปรแกรม Scandisk โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs และเลือก Accessories เลือกที่ System Tools และเลือก Scandisk ตามรูปตัวอย่าง
กดเลือกที่ Scandisk เพื่อเริ่มต้นการทำงานของโปรแกรม
หน้าตาของเมนูการเลือก Scandisk ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
Select the drive(s) คือช่องสำหรับเลือกฮาร์ดดิสก์ ที่ต้องการทำการตรวจสอบ
Standard จะเป็นการตรวจสอบเฉพาะระบบไฟล์ต่าง ๆ เท่านั้น
Thorough จะเป็นการตรวจสอบระบบไฟล์ต่าง ๆ และทำการทดสอบพื้นที่ใช้งานด้วยว่ามีปัญหาหรือไม่
Automatically fix errors เป็นการกำหนดให้ทำการแก้ไขปัญหาที่พบโดยอัตโนมัติ เมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้น
Standard จะเป็นการตรวจสอบเฉพาะระบบไฟล์ต่าง ๆ เท่านั้น
Thorough จะเป็นการตรวจสอบระบบไฟล์ต่าง ๆ และทำการทดสอบพื้นที่ใช้งานด้วยว่ามีปัญหาหรือไม่
Automatically fix errors เป็นการกำหนดให้ทำการแก้ไขปัญหาที่พบโดยอัตโนมัติ เมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้น
เมื่อเลือกค่าต่าง ๆ ได้เรียบร้อยแล้วก็กดที่ Start เพื่อเริ่มต้นการทำการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ได้เลย ในที่นี้ หากฮาร์ดดิสก์ ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากนัก ก็ทำแบบ Standard ก็พอแล้ว แต่ถ้าหากเป็นฮาร์ดดิสก์ที่สงสัยว่าใกล้จะเสีย หรือคิดว่าปัญหาเกิดจาก ฮาร์ดดิสก์แล้ว ให้เลือกที่ Thorough ครับซึ่งจะทำการตรวจสอบพื้นผิวได้ดีกว่า (แต่ก็จะใช้เวลานานด้วย)
หน้านี้ คือรายงานผลของการตรวจสอบเมื่อสิ้นสุดครับ จะเป็นรายละเอียดต่าง ๆ ของฮาร์ดดิสก์ที่ทำการตรวจสอบ
การเลือกค่าต่าง ๆ ในแบบ Advanced
นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถทำการเลือกค่าต่าง ๆ แบบ Advanced ได้ด้วยโดยการกดเลือกที่ปุ่ม Advanced...
เป็นการเลือกค่าต่าง ๆ ดังนี้
System and data areas คือเลือกทำการตรวจสอบในส่วนของไฟล์ระบบ และไฟล์ข้อมูล
System area only คือเลือกทำการตรวจสอบในส่วนของไฟล์ระบบเท่านั้น
Data area only คือเลือกทำการตรวจสอบในส่วนของไฟล์ข้อมูลเท่านั้น
Do not perform write-testing คือการเลือกให้ไม่ต้องทำการทดสอบการเขียนข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์
Do not repair bad sectors... คือการเลือกให้ไม่ทำการซ่อมแซมไฟล์ที่เสียหาย หากเป็นไฟล์ของระบบหรือไฟล์ที่ซ่อนไว้
System and data areas คือเลือกทำการตรวจสอบในส่วนของไฟล์ระบบ และไฟล์ข้อมูล
System area only คือเลือกทำการตรวจสอบในส่วนของไฟล์ระบบเท่านั้น
Data area only คือเลือกทำการตรวจสอบในส่วนของไฟล์ข้อมูลเท่านั้น
Do not perform write-testing คือการเลือกให้ไม่ต้องทำการทดสอบการเขียนข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์
Do not repair bad sectors... คือการเลือกให้ไม่ทำการซ่อมแซมไฟล์ที่เสียหาย หากเป็นไฟล์ของระบบหรือไฟล์ที่ซ่อนไว้
เลือกค่าต่าง ๆ แล้วกดที่ OK
การเลือกค่าต่าง ๆ ในเมนู Options
หากเราทำการเลือกการตรวจสอบแบบ Thorough จะสามารถเลือกที่ Options เพิ่มเติมได้ด้วย ก็ลองดูรายละเอียดด้านในกัน
รายละเอียดต่าง ๆ ในเมนู Options ซึ่งก็จะสามารถเลือกค่าต่าง ๆ ตามใจชอบได้ แต่ที่จริงก็คงไม่จำเป็นเท่าไรนักหรอกครับ ใช้ตามที่มีตั้งมาให้แบบนี้น่ะแหละดีแล้ว หรือหากใครอยากเปลี่ยนแปลงก็ทดลองได้เลยครับ
สรุปว่า ปกติก็คงไม่ต้องทำการ Scandisk บ่อยนัก แต่ถ้าหากมีความรู้สึกว่า ฮาร์ดดิสก์เริ่มมีการทำงานแบบแปลก ๆ ไปก็ลองเข้ามาทำการตรวจสอบกันดูบ้างสักครั้งก็ดีครับ
ระบบปฏิบัติการแบบฝัง
Palm OS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถือได้ว่าเกิดขึ้นมาพร้อม
ๆ กันกับการนำเอาคอมพิวเตอร์แบบพกพามาใช้ในยุคแรก ๆ เรียกกันว่าเครื่อง Palm ( ผลิตขึ้นโดยบริษัทปาล์ม)
ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาก่อน Windows CE หรือ Pocket PC OS ของไมโครซอฟต์
(เนื่องจากมีการผลิตเครื่องขึ้นมาใช้งานก่อนนั่นเอง)
ปัจจุบันอาจพบเห็นการนำเอาระบบนี้ไปใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพาของค่ายบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นนำ
นอกเหนือจากเครื่องของบริษัทปาล์มด้วย เช่น Visor (ของค่ายแฮนด์สปริงซึ่งปัจจุบันรวมกิจการเข้ากับบริษัทปาล์มไปแล้ว)
และ CLIE (ของค่ายโซนี่ที่ยุติการผลิตไปแล้ว)
ซึ่งก็ใช้ระบบปฏิบัติการแบบนี้ด้วยเช่นกัน
Pocket PC OS
(Windows CE เดิม)
บริษัทไมโครซอฟต์
ผู้ผลิตระบบปฏิบัติการยักษ์ใหญ่ที่มีความชำนาญจากการสร้างระบบที่ใช้สำหรับเครื่องพีซีมาก่อน
ได้หันมาเน้นการผลิตเพื่อใช้งานร่วมกับการควบคุมในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กมากยิ่งขึ้น
โดยสร้างระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า Pocket PC OS (เดิมใช้ชื่อว่า Windows CE หรือ Windows Consumer Electronics แต่มีการตั้งชื่อใหม่นี้ในภายหลังซึ่งเริ่มตั้งแต่เวอร์ชัน
3.0 ขึ้นไป
เพื่อให้ชื่อของระบบปฏิบัติการตัวดังกล่าวเหมือนกับชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กไปเลย)
การทำงานของระบบปฏิบัติการดังกล่าว
เป็นลักษณะที่ย่อขนาดการทำงานของ Windows ให้มีขนาดเล็กลงและกะทัดรัดต่อการใช้งานมากขึ้น
(scaled-down version ) สามารถรองรับการทำงานแบบ multi-tasking ได้เช่นเดียวกันกับ OS ตัวอื่น ๆ เช่น
ท่องเว็บหรือค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตไปได้พร้อม ๆ กับการฟังเพลงหรือตรวจเช็คอีเมล์ได้พร้อม
ๆ กับการสร้างบันทึกช่วยจำ เป็นต้น ผู้ใช้ที่คุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการของ Windows มาก่อนจะใช้งานได้ง่ายและสะดวกมาก
เนื่องจากรูปแบบและหน้าต่างการทำงานจะคล้าย ๆ กัน
ปัจจุบันอาจพบเห็นในโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone บางรุ่นบ้างแล้ว
ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย
ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่าย สามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น สามารถรองรับผู้ใช้งานได้หลายคน รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย ใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ (Client Servere- System) กล่าวคือ เครื่องแม่ข่าย (Server) สามารถให้บริการแก่เครื่องลูกข่าย (Client) ได้หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน หากเครื่องลูกข่ายเรียกใช้ข้อมูลจากเครื่องแม่ข่าย ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการเครือข่ายสำหรับการเรียกใช้ข้อมูลและจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องแม่ข่าย ในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องลูกข่าย ได้แก่ การประมวลผลและการติดต่อกับผู้ใช้ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบเครือข่าย มีดังนี้
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (Windows Server) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายขององค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง นิยมติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่ายาที่ให้บริการข้อมูลและโปรแกรมกับเครื่องลูกข่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์มีการพัฒนาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ Windows NT , Windows 2000 , Windows Server 2008 ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ ถูกออกแบบมาให้มีหน้าที่บริหารควบคุมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ซึ่งเป็นที่นิยมของหลายองค์กร
ระบบปฏิบัติการโอเอสทู วาร์ป (OS/2 Warp Server) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม ออกแบบมาเพื่อใช้เป็นระบบควบคุมเครื่องแม่ข่าย ติดต่อกับผู้ใช้โดยรูปแบบกราฟฟิก แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เมื่อ พ.ศ.2549 ทางไอบีเอ็มจึงเลิกพัฒนา ใน พ.ศ.2548 บริษัท เซเรนิตี ซิสเต็ม (Serenity System) ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการดังกล่าว โดยใช้ชื่อว่า e-ComStation โดยรุ่นแรกคือ 1.2R และรุ่นล่าสุดคือรุ่น 2.2 RC7 Silver วางจำหน่ายเดือนสิงหาคม พ.ศ.2552 ระบบปฏิบัติการโอเอสทู วาร์ป ออกแบบมาให้ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน
ระบบปฏิบัติการโซลาริส (Solaris) เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ พัฒนาขึ้นโดยบริษัทซัน ไมโคร ซิสเต็ม ออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต ในอนาคตระบบปฏิบัติการโซลาริสมีโครงการจะพัฒนาเป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดเผยโค้ด (Open Source) ด้วย ระบบปฏิบัติการโซลาริส มีรูปแบบของหน้าต่างและการทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการลินุกซ์ แต่เพิ่มระบบการเชื่อมต่อและการใช้งานแบบเครือข่าย
คำสั่งในระบบ MS - DOS
2) ระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer Operating System) จะมี ลักษณะเฉพาะโดยขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ โปรแกรมสำเร็จรูปไม่สามารถใช้ข้ามระบบปฏิบัติการได้ เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้บนระบบปฏิบัติการ MS - DOS จะไม่สามารถนำไปใช้บน Windows ได้ ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่
- คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่มีอยู่แล้วภายในระบบ เช่น คำสั่ง DIR (Directory) เป็นการเรียกข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ขึ้นมาดูเพื่อค้นหาแฟ้มข้อมูล คำสั่ง COPY เป็นการสำรองข้อมูลไว้ REN (Rename) เป็นการเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูลโดยที่ข้อมูลภายในยังคงเหมือนเดิม คำสั่ง TYPE เป็นการเรียกดูรายละเอียดของข้อมูลแต่ละแฟ้มขึ้นมาดู แต่แฟ้มนั้นจะต้องอยู่ในรูปของข้อความ (Text File) และคำสั่ง CLS (Clear) เป็นคำสั่งลบข้อความบนจอภาพ โดยที่ข้อมูลที่อยู่ภายในแฟ้มจะไม่หาย เป็นต้น
- คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งประเภทนี้ต้องเรียกใช้จากแผ่นโปรแกรมหรือจากหน่วยความจำสำรองที่ได้สร้างเก็บคำสั่งต่าง ๆ เหล่านี้ไว้หากไม่มีก็จะไม่สามารถเรียกคำสั่งขึ้นมาใช้ได้ เช่น คำสั่ง CHKDSK (Check Disk) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบหน่วยเก็บข้อมูลสำรองว่ามีพื้นที่ในการเก็บเท่าใด ใช้ไปเท่าใด คงเหลือเท่าใด และมีส่วนหนึ่งส่วนใดของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเสียหรือไม่
- คำสั่ง FORMAT เป็นการจัดเตรียมโครงสร้างภายในแผ่นหรือจานแผ่นเหล็ก เป็นการวิเคราะห์แผ่นจานแม่เหล็กสำหรับตำแหน่ง (Track) ที่เสีย
2.1 MS - DOS (Microsoft Disk Operating System) เป็นโปรแกรมควบคุมระบบปฏิบัติการ พัฒนาในช่วงปีค.ศ. 1980 จากบริษัท Microsoft พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับงานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Microprocessor รุ่น 8086, 8088, 80286, 80386, 80486 สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM Compatible ทั่วไป มี 2 เวอร์ชัน (Version) ได้แก่ PC-DOS และ MS-DOS ดอสเป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนประสานกับผู้ใช้ (User Interface) เป็นแบบป้อนคำสั่ง (Command - line User Interface) MS - DOS นั้นจะมีส่วนประกอบโปรแกรม 3 ส่วน คือ IO.SYS MS - DOS.SYS และ COMMAND.COM ทั้ง 3 โปรแกรมจะทำหน้าที่ในการจัดการทำงานทุกอย่างในระบบ สำหรับ MS - DOS.SYS และ IO.SYS นั้นเป็นไฟล์ระบบและถูกซ่อนไว้ในขณะที่เราสั่งงาน
IO.SYS เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ป้อนเข้า (Input Device) และอุปกรณ์แสดงผล (Output Device) เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
MS - DOS.SYS เป็นส่วนที่ใช้ในการเข้าถึง (Access) โปรแกรมย่อย (Routine) ต่าง ๆ ของดอส เมื่อโปรแกรมมีการเรียกใช้รูทีนเหล่านั้น ตัว MS - DOS.SYS จะรับข้อมูลต่าง ๆ จากโปรแกรมต่าง ๆ ผ่านจากรีจิสเตอร์ทำการควบคุมการทำงาน (Control Block) และจัดพารามิเตอร์ในการเรียกใช้ IO.SYS ให้ทำงานตามที่ต้องการ
COMMAND.COM ทำหน้าที่เป็นตัวประสาน คอยรับคำสั่งจากผู้ใช้ผ่านทางแป้นพิมพ์ เพื่อส่งผ่านคำสั่งไปยังคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนตัวเชื่อมผู้ใช้กับโปรแกรมจัดระบบ
2.2 Windows 3.X ประมาณต้นปี ค.ศ. 1990 บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต Windows 3.0 ซึ่งนำมาใช้การทำงานระบบกราฟิกเพื่อให้ผู้ใช้ใช้งานง่ายและสะดวกเรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยใช้ภาพเล็ก ๆ เรียกว่า ไอคอน (Icon) และใช้เมาส์ (Mouse) แทนคีย์บอร์ด (Key Board) นอกจากนี้ Windows 3.0 ขึ้นไป ยังสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานโปรแกรมได้มากกว่าหนึ่งโปรแกรมในขณะเดียวกันเรียกว่า Multitasking ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows ขึ้นมามี 3 เวอร์ชัน (Version) ได้แก่ Windows 3.0, Windows 3.1 และ Windows 3.11
2.3 Windows 95 ต่อมาในปี ค.ศ. 1995 บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต Windows 95 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานแบบหลายงาน (Multitasking) การทำงานในลักษณะเครือข่าย (Network) Windows 95 มีคุณลักษณะเด่น ดังนี้
- มีระบบติดต่อกับผู้ใช้โดยแสดงเป็นกราฟิก (Graphical User Interface :GUI)
- มีความสามารถในการเปิดเอกสารได้ครั้งละหลายไฟล์ และสามารถใช้โปรแกรมหลาย โปรแกรมในเวลาเดียวกัน
- มีโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสซิ่ง เรียกว่า Word Pad โปรแกรมวาดรูป และเกม
- เริ่มมีเทคโนโลยี Plug and Play และสนับสนุนการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต โดยติดตั้ง Windows 95 ไม่จำเป็นต้องติดตั้งที่ MS-DOS ก่อน แต่สามารถใช้งานร่วมกับ MS-DOS ได้
- สามารถใช้แอปพลิเคชันที่รันบน Windows 3.1 ได้เลยโดยไม่ต้องแก้ไข และซอฟต์แวร์ที่รันบน Windows 95 มีความสามารถส่ง Fax และ E - mail ได้
2.4 Windows 98 เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ Windows 95 ระบบปฏิบัติการ Windows 98 เป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ บน Windows โดยเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ
2.5 Windows Millennium Edition หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "Windows ME" ใน เวอร์ชันนี้พัฒนามาจาก Windows 98 เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากเวอร์ชันเก่า มีการสนับสนุนการทำงานแบบมัลติมีเดียมากขึ้น
2.6 Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการในส่วนของเครือข่าย (Network) คล้าย กับ Windows 95 พัฒนามาจาก LAN Manager และ Windows for Workgroup โดย Windows NT มี 2 เวอร์ชัน ได้แก่ Windows NT Server และ Windows NT Workstation โดยที่ Server จะทำหน้าที่ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่คอยให้บริการแก่เครื่องที่เป็น Workstation คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ Windows NT ได้แก่ ทำงานได้ในลักษณะหลายงานพร้อมกัน สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผล (CPU) มากกว่า 2 โปรเซสเซอร์ สามารถสร้างระบบแฟ้มของตนเองเป็นแบบ NTFS ซึ่งแต่เดิมจะเป็นแบบ FAT (File Allocation Table) เพียงอย่างเดียว มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลโดยสร้างรหัสผ่านให้กับผู้ใช้แต่ละคน และ สามารถกำหนดวันเวลาในการใช้งาน เป็นต้น
2.7 Windows 2000 Professional / Standard เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการ พัฒนาให้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่ใช้งานลักษณะเป็นกราฟิก เช่น มีโปรแกรม Windows Installation Service ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการติดตั้งหรืออัพเกรด (Upgrade) โปรแกรมได้ง่ายและมีการจัดการระบบตลอดจนมีการบริหารแม่ขายแบบรวมศูนย์ เหมาะสำหรับใช้ในงานสำนักงานมากกว่าที่จะใช้ที่บ้าน จุดเด่นของ Windows 2000 คือ การต่อเชื่อมระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงและสนับสนุน Multi Language
2.8 Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งในด้านการ ทำงานร่วมกับ Internet Explorer 6 และ Microsoft Web Browser Windows XP มี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ Windows XP Home Edition และ Windows XP Professional Edition
2.9 Mac OS X ระบบปฏิบัติการ Macintosh Operating System เป็นระบบ ปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ GUI ในปี ค.ศ. 1984 ของบริษัท Apple ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นระบบปฏิบัติการ Mac OS โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Apple และมีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) เหมาะกับงานในด้านเดสก์ทอปพับลิชชิ่ง (Desktop Publishing)
2.10 OS/2 Warp Client พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท IBM ได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ PS/2 ข้าสู่ตลาดก็ได้ติดต่อบริษัทไมโครซอฟต์ พัฒนาระบบปฏิบัติการตัวใหม่เป็น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องลูกข่าย สามารถทำงานแบบการทำงานหลายงาน (Multitasking) ได้ มีลักษณะการทำงานแบบดอสมากกว่า Windows สนับสนุนการทำงานแบบเครือข่าย มีขีดความสามารถติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกแต่ OS/2 ที่ผลิตออกมาในขณะนั้นไม่เป็นที่นิยม เพราะต้องใช้หน่วยความจำขนาดใหญ่ และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับ OS/2 ก็มีน้อย
2.11 UNIXเป็นระบบปฏิบัติการที่ใหญ่ สามารถใช้งานในลักษณะการทำงาน หลาย ๆ โปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) และเป็นแบบมัลติยูสเซอร์ (Multi-User) คือ มีผู้ใช้หลาย ๆ คนพร้อมกัน เป็นระบบที่พัฒนามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์และเวิร์กสเตชั่น (Workstation) เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ธรรมดา ๆ ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ UNIX สามารถทำงานรองรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี User ต่อเชื่อมเข้ามาได้มากถึง 120 ตัว ไปพร้อม ๆ กันและเหมาะสมสำหรับระบบเน็ตเวิร์ก (Network) นอกจากนั้นยังสามารถเคลื่อนย้ายงานและแอพพลิเคชั่นไปมาระหว่างแพลทฟอร์มได้ และสามารถย้ายงานที่รันอยู่บน DOS หรือ Windows มาใช้บนระบบปฏิบัติการ UNIX ได้ นอกจากนี้ยังมียูทิลิตี้ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ UNIX อีกด้วย
2.12 LINUX เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับ UNIX พัฒนาขึ้นมาเพื่อ แจกจ่ายให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ทะเล (Linux TLE) เกิดขึ้น เนื่องจากระบบปฏิบัติการลินุกซ์หลายค่ายจากต่างประเทศยังใช้งานภาษาไทยได้ไม่ดีเท่าที่ควร และการติดตั้งภาษาไทยก็ยุ่งยากพอสมควร จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำลินุกซ์มาใช้งาน จากปัญหาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ซึ่งมีราคาสูง ทำให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้ตั้งทีมออกแบบพัฒนาให้ใช้งานภาษาไทยและสามารถนำมาใช้งานแทน Windows ได้ ให้ชื่อว่า Linux TLE (Thai Language Extension) หรือ ลินุกซ์ทะเล และเป็นการพัฒนาโดยคนไทยซึ่งต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์กลางที่มีภาษาไทยเสริม ภายใต้มาตรฐานสากล TLE จึงเป็นตัวแทนของจุดประสงค์ของการพัฒนา และแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ให้สอดคล้องกับที่มาและสามารถเข้าใจได้ในเวทีสากล ลินุกซ์ทะเลได้พัฒนาระบบภาษาไทยให้ใช้งานได้ดีถึง 100% มีระบบการตัดคำที่อ้างอิงจากดิกชันนารี เพิ่มฟอนต์ภาษาไทยประเภทบิตแมปอีก 20 ฟอนต์ รวมทั้งฟอนต์แบบ True - Type สนับสนุนมาตรฐาน TIS620 เป็นฟอนต์ไทยซึ่งทาง NECTEC ได้จดลิขสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2.13 Solaris Solaris เป็นเวอร์ชันหนึ่งของ UNIX พัฒนาโดยบริษัท Sun Microsystems เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ออกแบบสำหรับงานด้านโปรแกรม E - commerce
โปรแกรมอรรถประโยชน์
ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เพื่อจัดการงานพื้นฐานและบริการต่าง ๆ เช่น การจัดเรียงข้อมูล (sort) การรวมแฟ้มข้อมูลที่จัดเรียงลำดับแล้วเข้าด้วยกัน (merge) หรือย้ายข้อมูลจากอุปกรณ์รับหนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง รวมทั้งสามารถจัดการกับฮาร์ดแวร์โดยตรง โปรแกรมอรรถประโยชน์ส่วนใหญ่จะถูกรวมอยู่ในระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว สามารถแบ่งออกได้ ๒ ประเภท ดังต่อไปนี้
1.) โปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ (OS utility programs) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งมาพร้อมระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว อำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ ตัวอย่างโปรแกรม มีดังนี้
1.1 โปรแกรมจัดการไฟล์ (file manager) เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยจัดการไฟล์ เช่น การคัดลอแฟ้มข้อมูล เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล ลบแฟ้มข้อมูล การเรียกใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ได้เพิ่มความสามารถการแสดงไฟล์เป็นรูปภาพเหมือนจริง (image view) ทำให้การใช้งานมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
1.2 โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม (uninstaller) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการนำโปรแกรมและส่วนประกอบของโปรแกรมที่ติดตั้งไว้ใน ระบบออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์จะติดตั้งโปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมไว้ เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมประยุกต์อยู่แล้ว
3.) การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์
3.1 สำรวจความต้องการใช้โปรแกรมประยุกต์ของผู้ใช้ว่า โปรแกรมประยุกต์ที่ต้องการใช้นั้นใช้กับระบบปฏิบัติการใด
3.2 สำรวจความเหมาะสมกับฮาร์ดแวร์ หน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู) ความจุหน่วยความจำหลัก (รอม, แรม) และขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งระบบปฏิบัติการทุกชนิดจะบอกคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ (system requirement)
3.3 งบประมาณในการจัดซื้อระบบปฏิบัติการ
3.4 ศึกษาข้อมูลการให้บริการหลังการขายและระยะเวลาในการรับประกัน
1.) โปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ (OS utility programs) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งมาพร้อมระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว อำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ ตัวอย่างโปรแกรม มีดังนี้
1.1 โปรแกรมจัดการไฟล์ (file manager) เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยจัดการไฟล์ เช่น การคัดลอแฟ้มข้อมูล เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล ลบแฟ้มข้อมูล การเรียกใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ได้เพิ่มความสามารถการแสดงไฟล์เป็นรูปภาพเหมือนจริง (image view) ทำให้การใช้งานมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
1.2 โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม (uninstaller) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการนำโปรแกรมและส่วนประกอบของโปรแกรมที่ติดตั้งไว้ใน ระบบออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์จะติดตั้งโปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมไว้ เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมประยุกต์อยู่แล้ว
1.3 โปรแกรมแสกนดิสก์ (disk scanner) เป็นโปรแกรมช่วยตรวจสอบความเสียหายหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ คือ เมื่อใช้ฮาร์ดดิสก์เป็นเวลานาน มักเกิดส่วนที่เสียหาก ที่เรียกว่า bad sector ส่งผลให้การทำงานของฮาร์ดดิสก์ช้าลง ทำให้การบันทึกหรือเขียนข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ยากขึ้น ดังนั้น ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมดังกล่าวตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ เพื่อค้นหาส่วนที่เสียหาย ไฟล์ที่มีข้อผิดพลาด และซ่อมแซมส่วนที่เสียหายได้
1.4 โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ (disk defragmenter) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้อย่างรวดเร็ว กล่าวคือ เมื่อมีการเรียกใช้งานฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์นั้นบ่อยๆ ไฟล์จะถูกจัดเก็บกระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบ และไม่ได้อยู่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน เมื่อต้องการเรียกใช้อีกภายหลังจะทำให้เวลาในการดึงข้อมูลนั้นๆ ช้าลง นั่นเอง โปรแกรมดังกล่าวจึงช่วยจัดเรียงไฟล์ต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ
1.5 โปรแกรมรักษาหน้าจอ (screen saver) เป็นโปรแกรมสำหรับรักษาและช่วยยืดอายุการใช้งานจอภาพของคอมพิวเตอร์ กล่าวคือ การเปิดจอภาพของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานและปล่อยทิ้งไว้ให้แสดงภาพเดิมโดยไม่มี การเคลื่อนไหวใด ๆ เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดรอยไหม้บนสารเรืองแสงที่ฉาบผิวจอ และไม่สามารถลบออกไปได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานจะส่งผลให้อายุการใช้งานของหน้าจอคอมพิวเตอร์สั้นลง ในการใช้โปรแกรมดังกล่าวผู้ใช้สามารถตั้งค่าระยะเวลาให้โปรแกรมตรวจสอบ และเริ่มทำงานได้ หากไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ของภาพ เช่น ๕ นาที หรือ ๑๐ นาที เป็นต้น เมื่อเราขยับเมาส์ หรือเริ่มที่จะทำงานใหม่ โปรแกรมนี้จะปิดอัตโนมัติ
2.) โปรแกรมอรรถประโยชน์อื่น ๆ (Standalone utility programs) เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างโปรแกรม ดังนี้
2.1 โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (file compression utility) เป็นโปรแกรมที่บีบอัดไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดไฟล์เรียกว่า ซิปไฟล์ (zip file) เช่น WinZip, Winrar เป็นต้น
2.1 โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (file compression utility) เป็นโปรแกรมที่บีบอัดไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดไฟล์เรียกว่า ซิปไฟล์ (zip file) เช่น WinZip, Winrar เป็นต้น
2.2 โปรแกรมไฟร์วอลล์ (firewall) เป็นโปรแกรมที่ป้องกันบุคคลภายนอกเข้ามาในระบบโดยไม่รับอนุญาตทั้งจากระบบ เครือข่ายอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมจะทำการตรวจสอบ
2.3 โปรแกรมป้องกันไวรัส (anti virus program) การใช้งานคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ใช้หลายคนหรือใช้ระบบเครือข่าย มักเจอปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งไวรัสเป็นโปรแกรมที่ผู้ไม่ประสงค์ดี พัฒนาขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น บูตระบบช้าลง ไม่สามารถเรียกใช้โปรแกรมได้สมบูรณ์ ทำให้คอมพิวเตอร์ค้าง (Hang) หรือมีข้อความขึ้นบนหน้าจออัตโนมัติได้เอง เพื่อสร้างความรำคาญ ก่อกวนการทำงานของผู้ใช้ เป็นต้น ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์จึงได้พัฒนาโปรแกรมขึ้นเพื่อค้นหาและกำจัดไวรัส คอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า โปรแกรมป้องกันไวรัส ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
- แอนตี้ไวรัส เป็นโปรแกรม เป็นโปรแกรมป้องกันไวรัสทั่วๆ ไป จะค้นหาและทำลายไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น McAfee VirusScan, Kaspersky, AVG AntiVirus, Panda Titanium เป็นต้น
- แอนตี้สปายแวร์ เป็นโปรแกรมป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากไวรัสปลายแวร์ และแฮ็กเกอร์ รวมถึงแอดแวร์ (adware) ซึ่งเป็นป๊อบอัพโฆษณาในอินเทอร์เน็ต เช่น McAfee AntiSpyware, Ad-Aware SE Pro, Spyware BeGone เป็นต้น
- แอนตี้สปายแวร์ เป็นโปรแกรมป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากไวรัสปลายแวร์ และแฮ็กเกอร์ รวมถึงแอดแวร์ (adware) ซึ่งเป็นป๊อบอัพโฆษณาในอินเทอร์เน็ต เช่น McAfee AntiSpyware, Ad-Aware SE Pro, Spyware BeGone เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ไวรัสคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ผู้ใช้ต้องปรับปรุงโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับมือและหาวิธีการป้องกันไวรัสตัวใหม่ ๆ ได้ทันท่วงที การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
3.) การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์
3.1 สำรวจความต้องการใช้โปรแกรมประยุกต์ของผู้ใช้ว่า โปรแกรมประยุกต์ที่ต้องการใช้นั้นใช้กับระบบปฏิบัติการใด
3.2 สำรวจความเหมาะสมกับฮาร์ดแวร์ หน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู) ความจุหน่วยความจำหลัก (รอม, แรม) และขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งระบบปฏิบัติการทุกชนิดจะบอกคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ (system requirement)
3.3 งบประมาณในการจัดซื้อระบบปฏิบัติการ
3.4 ศึกษาข้อมูลการให้บริการหลังการขายและระยะเวลาในการรับประกัน
การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน
การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน
1. แบบสำเร็จรูป (Packaged or ready-made software) เป็นวิธีที่ผู้ใช้งานซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายซอฟแวร์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งมักจะมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว ผู้ใช้สามรถนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้โดยทันที กรณีที่ไม่สามารถเลือกซื้อผ่านทางร้านตัวแทนจำหน่ายได้ อาจเข้าไปในเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์นั้นๆ แล้วกรอกข้อมูลรายการชำระเงินผ่านระบบแบบฟอร์มบนเว็บ เมื่อรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายชำระเงินของผู้ซื้อได้รับการอนุมัติแล้ว ก็สามารถดาวน์โหลดเอาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้ทันที
2. แบบว่าจ้างทำ (Customized or tailor-made software) เป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีลักษณะงานเฉพาะของตนเองและไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนั้น จึงต้องมีการผลิตซอฟแวร์ขึ้นมาใช้เอง โดยให้บุคคลภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทำการผลิตซอฟแวร์ใหเตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการ วิธีการนี้อาจทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบสำเร็จรูปพอสมควร แต่การทำงานของซอฟต์แวร์จะสอดคล้องตรงกับความต้องการได้ดีที่สุด
3. แบบทดลองใช้ (Shareware) เป็นวิธีที่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ได้ผลิตโปรแกรมที่ปรับลดคุณสมบัติบางอย่างลงไป เพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งานก่อน โดยมีการกำหนดระยะเวลาทดลองใช้งาน เช่น ใช้ได้ภายใน 30 วัน ใช้ภายใน 90 วัน เป็นต้น หากผู้ใช้ทดลองใช้แล้วตัดสินใจว่าดี ตลอดจนเหมาะสมกับงานที่ทำอยู่ ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปแบบต็มๆจากบริษัทผู้ผลิตต่อไป
4. แบบทดลองใช้งานฟรี (Freeware) เป็นโปรแกรมที่แจกให้ใช้ฟรี เพื่อตอบสนองกับการทำงานที่หลากหลาย ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินให้กับบริษัทผู้ผลิต ส่วนใหญ่เป้าหมายของผู้ผลิตคือ ต้องการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเผยแพร่ผลงานของตนเองให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และทดสอบระบบที่พัฒนาขึ้น ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ลิขสิทธิ์ก็ยังเป็นของบริษัทผู้ผลิตอยู่ ผู้อื่นไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
5. แบบโอเพนซอร์ซ (Open source) เป็นวิธีการขององค์กรที่มีกลุ่มบุคคลผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ทำการพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งานได้ฟรี รวมทั้งสามารถแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมต่างๆ ให้เหมาะสมกับงานของตนได้
มุมเทคโนโลยี
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
สิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น ได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่ารูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีการใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำ
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ หมายถึง สิทธิที่กฎหมายรับรองให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์กระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ได้ทำขึ้นรวมทั้งอนุญาตให้ใช้งานซอฟแวร์นั้นๆ โดยชอบธรรมตามกฎหมาย โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ รวมถึงฟรีแวร์และโอเพนซอร์ซนั้นมาพร้อมลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งลิขสิทธิ์ซอฟแวร์นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเสียเงินเสมอไป แต่ใช้เพื่ออธิบายสิทธิของผู้ใช้ว่าได้รับการอนุญาตให้ทำอะไรได้บ้าง
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูง ปัญหานี้ส่งผลเสียต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ โดยสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่ ได้แก่ ซีดีเพลง (ซีดีรวมไฟล์เพลงประเภท MP3) วีซีดี และดีวีดีภาพยนตร์ เกม รวมถึงซอฟต์แวร์ประยุกต์ สำหรับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้พัฒนาคู่มือ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละประเภท โดยได้อธิบายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำหน่าย โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบใช้ได้เสรี โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบรหัสเปิด โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาธารณะ โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบทดลองใช้ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละประเภท รวมถึงสิทธิในการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อันจะเป็นการลดความเสี่ยงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีบทลงโทษรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)